วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Jr Design แบบบ้านประหยัดพลังงาน : มาดูบ้านอนุรักษ์พลังงานของรัฐกัน

การออกแบบบ้านประหยัดพลังงานโดยปรับเปลี่ยนรูปแบบทางสถาปัตยกรรม

(CASE : การปรับปรุงประสิทธิภาพ "บ้านเอื้ออาทร" โครงการระยะที่ 2 เป็นบ้านประหยัดพลังงาน)

               การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน "โดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบทางสถาปัตยกรรม (เช่น การเปลี่ยนรูปแบบทางสถาปัตยกรรม รูปแบบโครงสร้าง วัสดุ แบบผัง การจัดวางตัวอาคารและทิศทาง ฯลฯ) โดยการปรับปรุงต่างๆจะต้องคำนึงถึงการประหยัดพลังงงาน  ความคุ้มค่า ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและประโยชน์ แก่ผู้อยู่อาศัยสูงสุด
          โดยศึกษาจากแบบสถาปัตยกรรม แบบทางวิศวกรรม แบบผังโครงการ แบบสาธารณูปโภคส่วนกลางต่างๆ ของบ้านอื้ออาทร โดยประเภทของอาคารที่ศึกษาทั้งหมด
6 ประเภท คือ

          บ้านเดี่ยว
2 ชั้น
          บ้านแฝด
2 ชั้น
          บ้านแถว (ทาวน์เฮ้าส์)
2 ชั้น
          อาคารชุด
5 ชั้น รูปแบบ F
          อาคารชุด 5 ชั้น รูปแบบ F1
      
          โดยแนวความคิดในการปรับปรุงอาคาร เพื่อทำให้เกิดสภาวะน่าสบายและประหยัดพลังงานนั้นได้ทำการพิจารณา ดังนี้

          1. ด้านอุณหภาพ
             
- โดยการป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร
 
         
2. ด้านการมองเห็น
             - โดยการพิจารณาระดับการส่องสว่างที่เหมาะสมในเบื้องต้น และนำเสนอมาตรการด้านอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างและดวงโคม
 
         
3. ด้านสภาพอากาศ
            - โดยการพิจารณาผลจากการระบายอากาศ
 
        
4. ด้านการใช้สอยอาคาร
            - โดยการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยของอาคาร และระบบวิศวกรรมต่างๆ ที่เหมาะสม

          ซึ่งผลจากการศึกษาและออกแบบนั้นได้นำปัจจัยและมาตรการต่างๆ เข้ามาช่วยพิจารณาเพื่อให้โครงการบ้านเอื้ออาทรนั้น มีศักยภาพในด้านการอนุรักษ์พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมาตรการและข้อพิจารณาในด้านต่างๆ มีดังนี้ คือ

  มาตรการในการป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร
           ภูมิอากาศของประเทศไทย เป็นภูมิอากาศเขตร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร ดังนั้นในการป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร เพื่อทำให้เกิดสภาวะน่าสบายภายในอาคารตามทฤษฎีและงานวิจัยที่กล่าวมาแล้วในบทที่ 2 จึงควรที่จะพิจารณาถึงปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะน่าสบาย (Comfort) แก่อาคาร ได้แก่
                    1)
      อุณหภูมิอากาศ (Air Temperature)
                   
2)      การแผ่รังสีความร้อน (Radiation)
                   
3)      ความชื้นสัมพัทธ์ (Humidity)
                   
4)      การไหลเวียนของอากาศ (Air Movement)

           

               ปัจจัยดังกล่าวนี้เป็นปัจจัยหลักที่จะใช้ในการสร้างแนวทางในการป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร โดยจากการศึกษาการป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร จะพิจารณากรอบอาคาร 2 ส่วนด้วยกัน คือ หลังคา และผนังอาคาร โดยเมื่อพิจารณาถึงวัสดุที่จะนำมาใช้เป็นกรอบอาคารนี้
พบว่าคุณสมบัติวัสดุผสมที่มีความน่าจะเป็นตัวแทนวัสดุสำหรับเปลือกอาคารที่ดี คือ วัสดุที่มีการใช้งานร่วมกันระหว่าง ฉนวนประเภทปิด และมวลสาร โดยผิวภายนอกของอาคารจะเป็นการป้องกันการแพร่ผ่านของความร้อนและความชื้นเข้าสู่ภายในอาคาร ส่วนภายในของอาคารจะเป็นการสร้างเสถียรภาพทางอุณหภูมิให้กับอาคาร และเมื่อพิจารณาปัจจัยดังกล่าวข้างต้นกับโครงการบ้านเอื้ออาทรแล้ว จึงได้กำหนดแนวทางในการปรับปรุงกรอบอาคารไว้ ดังนี้
             
- การปรับปรุงวัสดุในส่วนหลังคา
              - การปรับปรุงวัสดุผนังอาคาร

         มาตรการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าและดวงโคม
              การนำมาตรการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าและดวงโคม มาใช้กับโครงการบ้านเอื้ออาทรนั้น เป็นการช่วยให้ภาพรวมของอาคารและโครงการมีการบริโภคพลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานโดยรวมของประเทศอีกด้วย โดยมาตรการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าและดวงโคมนั้น จากการศึกษาทฤษฎีและการออกแบบด้านแสงสว่างเพื่อสร้างความสบายทางสายตาและการมองเห็น พบว่าการเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าและดวงโคมที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้โครงการนั้นสามารถที่จะประหยัดพลังงานในภาพรวมได้ โดยมาตรการที่จะนำมาใช้ในโครงการบ้านเอื้ออาทรอนุรักษ์พลังงานนี้ คือ การใช้บัลลาสต์กำลังสูญเสียต่ำ (Low Loss Ballast) และการใช้หลอดคอมแพค (Compact Fluorescent)

         มาตรการปรับปรุงงานระบบสุขาภิบาล
               ระบบประปาและสุขาภิบาลสำหรับโครงการบ้านเอื้ออาทรอนุรักษ์พลังงานนั้น ไม่มีผลกระทบที่ชัดเจนต่อกระบวนการในการประหยัดพลังงาน แต่ทั้งนี้สามารถพิจารณาและสรุปเป็นข้อเสนอแนะในการดำเนินการก่อสร้าง เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ากับโครงการและเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ให้เกิดขึ้นกับผู้ที่อยู่อาศัยภายในโครงการ ดังนี้

              1)
  การออกแบบระบบน้ำใช้สำหรับอาคารภายในโครงการ โดยเฉพาะอาคารบ้านพักอาศัย 2 ชั้น, บ้านแฝด 2 ชั้น และบ้านแถว (ทาวน์เฮ้าส์) 2 ชั้น ควรพิจารณาระบบการจ่ายน้ำประปาให้กับอาคารต่างๆ ภายในโครงการให้มีประสิทธิภาพ สามารถจ่ายน้ำให้ทั่วถึงทุกอาคาร และมีแรงดันของน้ำประปาที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันใช้พลังงานไฟฟ้าที่มากขึ้นอันเนื่องมาจากการใช้ปั๊มน้ำที่อาจเกิดขึ้นได้กับโครงการ
             
2)  การปรับเปลี่ยนแนวทางเดินท่อน้ำทิ้งจากห้องครัวมาผ่านบ่อดักไขมันก่อนนำน้ำทิ้งมาผ่านกระบวนการบำบัดน้ำเสีย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียก่อนทิ้งลงบ่อพักและระบบระบายน้ำสาธารณะ อีกทั้งเป็นการลดค่าใช้จ่ายในส่วนระบบบำบัดน้ำเสียรวมภายในโครงการ หากระบบบำบัดน้ำเสียภายในอาคารสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             
3)  ปัญหาในการดำเนินการดูแลรักษาระบบบำบัดน้ำเสียรวมในระยะยาวผู้ออกแบบคาดการณ์ถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง หากเป็นไปได้แล้วนั้น ควรใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศในการบำบัดน้ำเสียในอาคารทุกประเภท และเน้นให้มีจุดเด่นคือ ผู้อยู่อาศัยสามารถดูแลรักษาระบบบำบัดน้ำเสียภายในครัวเรือนเองได้ เช่นการทำความสะอาดตัวกลาง, การนำปั๊มอากาศมาซ่อมแซมได้
               ระบบบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศ (
Aerobic Treatment) กล่าวถึงการนำจุลชีพมาบำบัดน้ำเสียในครัวเรือน โดยเลือกชนิดของจุลชีพที่ใช้ออกซิเจนมาช่วยในกระบวนการทำงาน ซึ่งระบบดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ (Anaerobic Treatment) กล่าวคือ BOD (Biological Oxygen Demand) ที่ออกจากระบบบำบัดฯ แบบใช้อากาศจะมีค่าต่ำกว่า 20 mg/L ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานทำให้ไม่ต้องใช้ระบบบำบัดรวมอีกในการบำบัดน้ำเสียในโครงการ
              
4)  หากมีการรวบรวมน้ำทิ้งจากกลุ่มอาคารที่อยู่อาศัย ก่อนการปล่อยลงสู่ลำน้ำสาธารณะควรมีการนำน้ำทิ้งนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น นำมารดน้ำต้นไม้รอบๆ โครงการ หรือ บริเวณสวนสาธารณะ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
             
5)  การกำจัดขยะหรือของเสียในแต่ละครัวเรือน  ควรมีการรณรงค์ให้แต่ละบ้านมีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง เช่น จัดระบบการเก็บรวบรวมในโครงการให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว เพื่อเพิ่มความสะดวกในการรวบรวมและทำลายขยะหรือของเสียเหล่านั้น และควรมีจุดจัดเก็บอย่างพอเพียง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ป้ายกำกับ

000 000 ลิตร 1.5 ล้าน 20000 ลิตร 2012 2013 250000-300000 3/4" 400 4 แสน 5 แสน 9000 ลิตร กระทรวงพลังงาน ก่อสร้าง การเขียนแบบบ้าน ขัดมัน เข็มสั้น เข็มไอ เขียนแบบ ค่าออกแบบ โครงสร้าง งานปรับปรุง ฐานราก ต่อเติม ถังเก็บน้ำ ถังน้ำมัน 20 เทนนิค น้ำหนัก น้ำหนักถังเก็บน้ำมัน บรรทุก แบบบ้านชั้นเดียวพร้อมแปลน แบบบ้านพร้อมแปลน ประมาณราคา ปรับปรุง ปูนเปลือย แปลนบ้านชั้นเดียว 1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ แปลนบ้านชั้นเดียว 2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ แปลนบ้านชั้นเดียวยกสูง แปลนบ้านชั้นเดียวราคาถูก แปลนบ้านไม่เกินล้าน ผลงาน ผลงานก่อสร้าง แผ่นพื้น พื้นที่ใช้สอย เฟอร์นิเจอร์ โฟร์แมน โมเดิน โมเดิร์น รับเหมา ราคา ลอฟ วัสดุ วิศวกรโยธา เสาเข็ม ห้องนอน หางาน หิน หินย่อย ออกแบบ ออกแบบฐานราก ออกแบบแท่นน้ำมัน ออกแบบอพาร์ทเมนท์ aisan building construction contractor engineer forman helmet isolated Loft man small house spacing supervisor