วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

งานปรับปรุงอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น

ลักษณะงาน  :  ปรับปรุงอาคาร (Renovate)
สถานที่        :  ตลาดพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
ระยะเวลาดำเนินการ :  ประมาณ 60  วัน
วันเริ่มต้นงาน    :   11 กันยายน 2554  - 
การเบิกจ่ายตามงวดงาน




สภาพอาคารก่อนทำการปรับปรุง (หลังที่มีเข่งตั้งเรียงราย)

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

หลักการฝังท่อผ่านคาน ( สลีฟ คาน)

เราจะเจาะคาน หรือ สลีฟคานเพื่อฝังท่อผ่านได้อย่างไรดี จึงจะไม่กระทบกระเทือนโครงสร้าง

รวบรวมจากเว็บ สภาวิศวกรครับ
( http://www.coe.or.th/e_engineers/webboard_topic.php?wtype=3&wNo=52495 )

1 แนวนอน ห่างหน้าเสาอย่างน้อย สองเท่าของความลึกคาน
2 แนวดิ่ง กึ่งกลางคาน
3 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางท่อเจาะไม่ควรเกิน
   3.1 ยังไม่ได้เทคอนกรีต ความลึกคานหารด้วยหก และเสริมเหล็กเพิ่ม
   3.2 เทคอนกรีตแล้ว ความลึกคานหารด้วย แปด ถ้า ไม่พอ ต้องเจาะเพิ่ม ต้องเจาะเรียงห่าง ห้าเท่าเส้นผ่านศูนย์กลาง
4.ไม่ควรเจาะคอนกรีตคานในส่วนของหน้าตัดคานที่ทำหน้าที่รับแรงอัด หากจำเป็นควรเสริมเหล็กรับแรงอัดเพิ่ม ทดแทนหน้าตัดที่ถูกเจาะไป

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

การออกแบบหอพระ

การออกแบบหอพระ

แนวคิด



       เนื่องจากมีอาคารเก่าที่เป็นตัวกำหนดความลาดชันของหลังคา จึงจำเป็นต้องใช้ความลาดชันเดิม และวัสดุที่ใช้มุงหลังคาเดิม เป็นกระเบื้องซีแพคโมเนีย และไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงหลังคาเดิมได้เพราะว่า ได้นำพระพุทธรูปเข้าไปประดิษฐานไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว


วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รับออกแบบบ้าน เขียนแบบบ้าน รับสร้างบ้าน ต่อเติม ซ่อมแซมบ้าน

       บริการรับออกแบบบ้าน รับเขียนแบบบ้าน และ อาคารทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นอาคารบ้านพักอาศัยชั้นเดียว บ้านพักอาศัย 2 ชั้น  รีสอร์ท โรงงาน โกดังสินค้า หรือ ตามความต้องการของท่าน ใช้คอมพิวเตอร์เขียนด้วยโปรแกรม Auto Cad โดยผู้ที่มีประสบการณ์ในการออกแบบบ้าน และ เขียนแบบบ้านโดยตรง...

   เรายินดีให้คำแนะนำและคำปรึกษาไม่ว่าท่านสงสัยในเรื่องใดเรายินดีตอบทุุกข้อสงสัยเพื่อให้ท่านได้แบบบ้านที่ตรงใจท่านที่สุด  เพื่อทำให้บ้านในจินตนาการของท่านเป็นจริงได้...     
พร้อมกันนั้นทางทีมงาน Jr Design ยังรับสร้างบ้านที่ท่าน
ปราถนาให้เป็นจริง โดยทีมงานผู้มีประสบการณ์ในการสร้างบ้าน
มานานหลายปี เราใส่ใจทุกรายละเอียดเสมือนเป็นบ้านของเราเอง เราเข้าใจท่านดี การตัดสินใจสร้างบ้านต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก ท่านคาดหวังว่าจะต้องได้บ้านที่ตรงใจ ประหยัด ทนทาน คุ้มกับที่ได้
ลงทุนไป เราทีมงาน Jr Design จะไม่ทำให้ท่านผิดหวัง

      เรื่องราคาแบบบ้านคิด 150-250บาท/ตารางเมตร 
(แล้วแต่ความยากง่ายครับ)แถมประมาณราคาค่าก่อสร้างให้ด้วย ถ้างบประมาณที่ท่านมีไม่พอ เรายินดีแก้แบบบ้านให้พอดีกับ
งบประมาณจนกว่าจะถูกใจท่านครับ...

                 โทรศัพท์มาคุยกันได้้ครับ....   

                       Tel 086-3070762 (K.ต้อง)    
                 
           e-mail fishguru_002@hotmail.co.th











วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Jr Design รับสมัครงาน Forman 1 ตำแหน่ง

  Jr Design house & construction

              มีความต้องการโฟร์แมนควบคุมงานก่อสร้าง


คุณสมบัติผู้สมัคร :
  • เพศชาย จบการศึกษาปวช.หรือ ปวส. ช่างก่อสร้าง
  • ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ก็ได้(สอนงานให้)
  • ถ้าสามารถเขียนแบบด้วยโปรแกรม Auto CAD ได้จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
  • สามารถอ่านแบบและเคลียร์แบบได้ 
เงินเดือน :  10,500 บาท



สวัสดิการ : ค่าน้ำมัน ค่าโทรศัพท์ โบนัสประจำปี ประกัน 
                    สังคม 


ติดต่อเรา : Tel 086-3070762 (K.ต้อง)

                              e-mail fishguru_002@hotmail.co.th
    














วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Jr. Design แบบบ้านประหยัดพลังงาน : พื้นยื่น คานยื่น

- ปกติพื้นยื่น มันจะยื่นออกมาจากคาน โดยคานถ่ายนน.ไปยังเสา ยกเว้นเป็นระบบพื้นไร้คาน ถ้าถามว่าพื้นจะยื่นออกไปจากแนวคาน (ที่เชื่อมระหว่างเสา) ได้เท่าไร ...อันนี้ก็ขึ้นกับระยะช่วงคานด้วย เพราะคานแนวนี้นอกจากจะรับนน.ของพื้นยื่น รวมทั้งนน.ของทุกอย่างที่อยู่บนพื้นยื่น เช่น ผนัง live load ฯลฯ แล้ว ยังต้องรับแรงบิดเนื่องจากนน.ของพื้นยื่นอีกด้วย
 

- ถ้าพื้นที่เลยแนวเสาออกไปมีคานรัดรอบ แบบนี้พื้นเป็นพื้นทางเดียว หรือพื้น 2 ทางธรรมดา นน.ก็ถ่ายไปที่คานโดยรอบ แต่ที่ยื่นกลายเป็นคาน อาจจะยื่นออกมาจากเสา หรือคานก็แล้วแต่
 

- สรุปว่าจะยื่นแต่พื้น / ยื่นคาน หรือตั้งเสารับ อย่างไหนจะประหยัดกว่ากัน ก็คงต้องพิจารณาจากแปลนเป็นหลัก ระยะช่วงคานเป็นเท่าไร รวมทั้งวัสดุผนัง ความสูงผนัง ฯลฯ
 

- พื้นยื่นค.ส.ล. ปกติหนา L/10 โดย L คือระยะยื่น ถ้าระยะยื่นมากถึง 2 ม. ก็หมายถึงพื้นต้องหนา 0.20 ม. นน.พื้นมันจะมาก ส่งผลให้คานที่รับแรงบิดต้องใหญ่ เสริมเหล็กมากตามไปด้วย

หลักการง่ายๆ ส่วนที่ยื่น ให้มีโมเมนต์เท่ากับคานภายใน จะทำให้เกิดสมดุลย์ ไม่มีโมเมนต์เข้าเสา

w1(L1^2)/2 + P1L1=w2(L2^2)/12

L2 รู้ หาL1 ได้

P1 =pointload ปลายคาน

L1=ความยาวคานยื่น w1=น้ำหนักกระจายบนL1
L2= ความยาวคานภายใน w2=น้ำหนักกระจายบนL2

2ที่หารL1 เป็นส่วนหารคานยื่น
12ที่หาร L2 เป็นส่วนหารคานภายใน

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การวางถังน้ำ บน หรือ ล่าง ดี ???

การวางถังน้ำด้านล่างของอาคาร (วางบนพื้น)


ถ้ามีพื้นที่มากควรติดตั้งที่ชั้นส่างแล้วใช้ Auto Pump ควมคุม มีผลดีดังนี้
1.ไม่เพิ่มน้ำหนักให้อาคาร
2.ใช้แท้งค์ 1 ใบไม่ต้องเดินท่อส่งน้ำประหยัดค่าใช้จ่าย
3.ดัดแปลงต่อเข้ากับระบบเดิมได้ง่าย


การวางถังน้ำด้านบนของอาคาร (ดาดฟ้า)

 กรณีติดตั้งบนอาคาร
1.เพิ่มน้ำหนักให้อาคาร
2.ต้องใช้แท้งค์น้ำ2ใบติดตั้งบนอาคาร1ใบและติดตั้งเป็นถังพักน้ำชั้นส่า งก่อนpumpขึ้นชั้นบน1ใบ 3.ชั้น3และชั้น4 น้ำจะไหลไม่แรงต้องติด บูตเตอร์ ปั๊มช่วย
4.ไม่เป็นการประหยัด
5.ดัดแปลงต่อเข้ากับระบบเดิมได้ยากกว่า

แบบผสม วางบนดิน + วางบนดาดฟ้า

ถังบนดิน 1000 ลิตร + ถังดาดฟ้า 700 ลิตร

ถังพักน้ำด้านบนวัตถุประสงค์หลักเพื่อ เพิ่มแรงดันในการส่งน้ำไม่ได้มีไว้เพื่อสำรองน้ำเหมือนถังพักน้ำด้านล่าง ควรให้กักเก็บน้ำเพื่อจ่ายได้ประมาณ 2-3 ชั่วโมงของการใช้น้ำรวมเท่านั้น

แผ่นพื้นสำเร็จรูป

ตารางแสดงความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัย
(SAFE SUPERIMPOSED SERVICE LOAD TABLE)
ลวดอัดแรง (PC. WIRE) น้ำหนักบรรทุกปลอดภัย (กก. / ตร.ม.)
ช่วงความยาว (ม.) 2.00 2.25 2.50 2.75 3.00 3.25 3.50 3.75 4.00 4.25 4.50 4.75 5.00
จำนวน - ขนาด    แผ่นพื้นสำเร็จรูป หนา 5 ซม. ทับหน้า 4 ซม. ความหนารวม 9 ซม.
4 - Ø 4 มม. 950 660 520 420 340 275 220  
5 - Ø 4 มม. 1260 875 620 500 410 553 270 230  
6 - Ø 4 มม. 1550 1110 800 595 480 400 325 275 230  
7 - Ø 4 มม. 1550 1360 1000 725 560 460 380 325 270 225  
8 - Ø 4 มม. 1550 1360 1200 895 650 525 435 370 310 265 225  
  แผ่นพื้นสำเร็จรูป หนา 5 ซม. ทับหน้า 5 ซม. ความหนารวม 10 ซม.
4 - Ø 4 มม. 1060 800 670 520 430 360 315 260  
5 - Ø 4 มม. 1440 970 770 620 515 430 360 310 260 225  
6 - Ø 4 มม. 1550 1200 880 720 595 500 425 360 305 265 230  
7 - Ø 4 มม. 1550 1360 1130 820 675 575 485 415 355 305 265 230  
8 - Ø 4 มม. 1550 1360 1200 1000 765 645 540 470 400 350 305 260 230
  แผ่นพื้นสำเร็จรูป หนา 5 ซม. ทับหน้า 6 ซม. ความหนารวม 11 ซม.
4 - Ø 4 มม. 1260 990 795 650 550 460 405 340 275  
5 - Ø 4 มม. 1530 1160 940 760 655 545 475 405 340 275  
6 - Ø 4 มม. 1550 1350 1060 870 740 620 540 460 405 355 300  
7 - Ø 4 มม. 1550 1360 1200 980 835 700 605 525 460 400 360 315  
8 - Ø 4 มม. 1550 1360 1200 1050 920 780 680 580 510 445 400 355 315
         
           การเสริมเหล็ก Temperature steel

              - พื้นรับน้ำหนักจรไม่เกิน 300 กก. / ตร.ม. : เสริมเหล็ก               Ø 6 มม. @ 0.25 ม.#
                                                                          หรือ Wire Mesh    Ø 4 มม. @ 0.25 ม.#

              - พื้นรับน้ำหนักจรเกิน 300 กก. / ตร.ม. : เสริมเหล็ก                   Ø 6 มม. @ 0.25 ม.#
                                                                          หรือ Wire Mesh    Ø 4 มม. @ 0.25 ม.#

              กำลังอัดของคอนกรีตทับหน้า ( Compresive Strength Concrete Topping ) ไม่น้อยกว่า 180 กก. / ตร.ซม.
พื้นสำเร็จรูป (PLANK SLAB)

ที่มา


http://www.b2bthai.com/COMP-poundconcrete/ProductInfo.aspx?pid=f49e1d29-3d10-4a9a-980e-831b61729abc 

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Jr. Design แบบบ้านประหยัดพลังงาน : ค่าออกแบบ

การประมาณราคาค่าออกแบบ

มาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กำหนดมาตรฐานการคิดค่าออกแบบไว้ดังต่อไปนี้(เป็นร้อยละ)
ประเภทอาคาร มูลค่าการก่อสร้าง
ไม่เกิน 10 ล้าน 10 ล้าน-30 ล้าน 30 ล้าน-50 ล้าน 50 ล้าน-100 ล้าน 100 ล้าน-200 ล้าน 200 ล้าน- 500 ล้าน

1.ตกแต่งภายใน ครุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ 10.00 7.75 6.50 6.00 5.25 4.50
2.พิพิธภัณฑ์ วัด อนุสาวรีย์ อาคารอนุสรณ์ที่วิจิตร 8.50 6.75 5.75 5.50 4.75 4.25
3.บ้าน(ไม่รวมตกแต่งภายใน) 7.50 6.00 5.25 5.00 4.50 4.00
4.โรงพยาบาล โรงแรม ธนาคาร คอนโดมิเนียม วิทยาลัย 6.50 5.50 4.75 4.50 4.25 3.75
5.สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า หอพัก โรงเรียน โรงงานอุตสาหกรรม 5.50 4.75 4.50 4.25 4.00 3.50
6.โกดัง อาคารจอดรถ ห้องแถว ตลาด 4.50 4.25 4.00 3.75 3.50 3.25

การคำนวณค่าออกแบบจะประเมินจากค่าก่อสร้าง เช่นท่านต้องการสร้างบ้านประมาณ 15 ล้านบาทจะคิดดังนี้

10 ล้านแรก คิด 7.5 %      = 750,000 บาท
5 ล้านต่อมา คิด 6.00 %   = 300,000 บาท

รวมเป็นค่าออกแบบทั้งสิ้น 1,050,000 บาท


ค่าออกแบบเขาแบ่งกันอย่างไร (ระหว่างสถาปนิกและวิศวกร) สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กำหนดมาตรฐานการคิดค่าออกแบบไว้ดังต่อไปนี้(เป็นร้อยละ)

1. เมื่อรับเงินมาสามารถหักค่าใช้จ่ายบางประเภทออกก่อนคือค่าประสานงาน ( หักไม่เกิน 10 % )ค่าใช้จ่ายพิเศษอื่น ๆ ( ไม่เกิน 15 % )
2. เหลือเงินจากข้างต้นเมื่อไรจะแบ่งกัน โดยแยกประเภทของโครงการเป็น 4 ประเภทคือ
ประเภทที่ 1 : บ้าน
ประเภทที่ 2 : อาคารชุด สำนักงานสรรพสินค้า หอพัก โรงเรียน
ประเภทที่ 3 : โรงแรม โรงพยาบาล โรงภาพยนต์ สนามกีฬาในร่ม
ประเภทที่ 4 : โรงงาน โกดัง อาคารจอดรถ ห้องแถว ตลาด
โดยจะแบ่งออกเป็นสัดส่วนร้อยละดังต่อไปนี้
ประเภทของงาน/คน 1 2 3 4
1.สถาปนิก 65% 60% 55% 50%
2.วิศวกรโครงสร้าง 20% 20% 22% 26%
3.วิศวกรสุขาภิบาล 5% 5% 6% 6%
4.วิศวกรไฟฟ้า 10% 10% 11% 11%
5.วิศวกรเครื่องกล - 5% 6% 6%
รายละเอียดเพิ่ม สอบถามได้ที่สมาคมสถาปนิกสยามฯ หรือวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ...ทันที

วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แบบบ้านประหยัดพลังงาน : หลังคาซีแพคโมเนีย

หลังคาซีแพคโมเนีย





ความลาดเอียงของหลังคา

    ความลาดเอียง(องศา) ของหลังคา กับ ความยาวจันทัน   ต้องมีความสัมพันธ์กัน  เพื่อป้องกันน้ำล้นลิ้นรางด้านข้างของกระเบื้องเมื่อฝนตก  ดังตารางด้านล่างนี้ 
    ความลาดเอียงของหลังคา( องศา)
    17
    18
    19
    20
    21
    22
    มากกว่า 22
    ความยาวจันทันไม่ควรเกิน ( เมตร)
    5.5
    6
    6.5
    7
    7.5
    8
    ไม่จำกัด

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Jr Design แบบบ้านประหยัดพลังงาน : มาดูบ้านอนุรักษ์พลังงานของรัฐกัน

การออกแบบบ้านประหยัดพลังงานโดยปรับเปลี่ยนรูปแบบทางสถาปัตยกรรม

(CASE : การปรับปรุงประสิทธิภาพ "บ้านเอื้ออาทร" โครงการระยะที่ 2 เป็นบ้านประหยัดพลังงาน)

               การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน "โดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบทางสถาปัตยกรรม (เช่น การเปลี่ยนรูปแบบทางสถาปัตยกรรม รูปแบบโครงสร้าง วัสดุ แบบผัง การจัดวางตัวอาคารและทิศทาง ฯลฯ) โดยการปรับปรุงต่างๆจะต้องคำนึงถึงการประหยัดพลังงงาน  ความคุ้มค่า ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและประโยชน์ แก่ผู้อยู่อาศัยสูงสุด
          โดยศึกษาจากแบบสถาปัตยกรรม แบบทางวิศวกรรม แบบผังโครงการ แบบสาธารณูปโภคส่วนกลางต่างๆ ของบ้านอื้ออาทร โดยประเภทของอาคารที่ศึกษาทั้งหมด
6 ประเภท คือ

          บ้านเดี่ยว
2 ชั้น
          บ้านแฝด
2 ชั้น
          บ้านแถว (ทาวน์เฮ้าส์)
2 ชั้น
          อาคารชุด
5 ชั้น รูปแบบ F
          อาคารชุด 5 ชั้น รูปแบบ F1
      
          โดยแนวความคิดในการปรับปรุงอาคาร เพื่อทำให้เกิดสภาวะน่าสบายและประหยัดพลังงานนั้นได้ทำการพิจารณา ดังนี้

          1. ด้านอุณหภาพ
             
- โดยการป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร
 
         
2. ด้านการมองเห็น
             - โดยการพิจารณาระดับการส่องสว่างที่เหมาะสมในเบื้องต้น และนำเสนอมาตรการด้านอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างและดวงโคม
 
         
3. ด้านสภาพอากาศ
            - โดยการพิจารณาผลจากการระบายอากาศ
 
        
4. ด้านการใช้สอยอาคาร
            - โดยการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยของอาคาร และระบบวิศวกรรมต่างๆ ที่เหมาะสม

          ซึ่งผลจากการศึกษาและออกแบบนั้นได้นำปัจจัยและมาตรการต่างๆ เข้ามาช่วยพิจารณาเพื่อให้โครงการบ้านเอื้ออาทรนั้น มีศักยภาพในด้านการอนุรักษ์พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมาตรการและข้อพิจารณาในด้านต่างๆ มีดังนี้ คือ

  มาตรการในการป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร
           ภูมิอากาศของประเทศไทย เป็นภูมิอากาศเขตร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร ดังนั้นในการป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร เพื่อทำให้เกิดสภาวะน่าสบายภายในอาคารตามทฤษฎีและงานวิจัยที่กล่าวมาแล้วในบทที่ 2 จึงควรที่จะพิจารณาถึงปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะน่าสบาย (Comfort) แก่อาคาร ได้แก่
                    1)
      อุณหภูมิอากาศ (Air Temperature)
                   
2)      การแผ่รังสีความร้อน (Radiation)
                   
3)      ความชื้นสัมพัทธ์ (Humidity)
                   
4)      การไหลเวียนของอากาศ (Air Movement)

           

               ปัจจัยดังกล่าวนี้เป็นปัจจัยหลักที่จะใช้ในการสร้างแนวทางในการป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร โดยจากการศึกษาการป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร จะพิจารณากรอบอาคาร 2 ส่วนด้วยกัน คือ หลังคา และผนังอาคาร โดยเมื่อพิจารณาถึงวัสดุที่จะนำมาใช้เป็นกรอบอาคารนี้
พบว่าคุณสมบัติวัสดุผสมที่มีความน่าจะเป็นตัวแทนวัสดุสำหรับเปลือกอาคารที่ดี คือ วัสดุที่มีการใช้งานร่วมกันระหว่าง ฉนวนประเภทปิด และมวลสาร โดยผิวภายนอกของอาคารจะเป็นการป้องกันการแพร่ผ่านของความร้อนและความชื้นเข้าสู่ภายในอาคาร ส่วนภายในของอาคารจะเป็นการสร้างเสถียรภาพทางอุณหภูมิให้กับอาคาร และเมื่อพิจารณาปัจจัยดังกล่าวข้างต้นกับโครงการบ้านเอื้ออาทรแล้ว จึงได้กำหนดแนวทางในการปรับปรุงกรอบอาคารไว้ ดังนี้
             
- การปรับปรุงวัสดุในส่วนหลังคา
              - การปรับปรุงวัสดุผนังอาคาร

         มาตรการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าและดวงโคม
              การนำมาตรการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าและดวงโคม มาใช้กับโครงการบ้านเอื้ออาทรนั้น เป็นการช่วยให้ภาพรวมของอาคารและโครงการมีการบริโภคพลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานโดยรวมของประเทศอีกด้วย โดยมาตรการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าและดวงโคมนั้น จากการศึกษาทฤษฎีและการออกแบบด้านแสงสว่างเพื่อสร้างความสบายทางสายตาและการมองเห็น พบว่าการเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าและดวงโคมที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้โครงการนั้นสามารถที่จะประหยัดพลังงานในภาพรวมได้ โดยมาตรการที่จะนำมาใช้ในโครงการบ้านเอื้ออาทรอนุรักษ์พลังงานนี้ คือ การใช้บัลลาสต์กำลังสูญเสียต่ำ (Low Loss Ballast) และการใช้หลอดคอมแพค (Compact Fluorescent)

         มาตรการปรับปรุงงานระบบสุขาภิบาล
               ระบบประปาและสุขาภิบาลสำหรับโครงการบ้านเอื้ออาทรอนุรักษ์พลังงานนั้น ไม่มีผลกระทบที่ชัดเจนต่อกระบวนการในการประหยัดพลังงาน แต่ทั้งนี้สามารถพิจารณาและสรุปเป็นข้อเสนอแนะในการดำเนินการก่อสร้าง เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ากับโครงการและเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ให้เกิดขึ้นกับผู้ที่อยู่อาศัยภายในโครงการ ดังนี้

              1)
  การออกแบบระบบน้ำใช้สำหรับอาคารภายในโครงการ โดยเฉพาะอาคารบ้านพักอาศัย 2 ชั้น, บ้านแฝด 2 ชั้น และบ้านแถว (ทาวน์เฮ้าส์) 2 ชั้น ควรพิจารณาระบบการจ่ายน้ำประปาให้กับอาคารต่างๆ ภายในโครงการให้มีประสิทธิภาพ สามารถจ่ายน้ำให้ทั่วถึงทุกอาคาร และมีแรงดันของน้ำประปาที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันใช้พลังงานไฟฟ้าที่มากขึ้นอันเนื่องมาจากการใช้ปั๊มน้ำที่อาจเกิดขึ้นได้กับโครงการ
             
2)  การปรับเปลี่ยนแนวทางเดินท่อน้ำทิ้งจากห้องครัวมาผ่านบ่อดักไขมันก่อนนำน้ำทิ้งมาผ่านกระบวนการบำบัดน้ำเสีย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียก่อนทิ้งลงบ่อพักและระบบระบายน้ำสาธารณะ อีกทั้งเป็นการลดค่าใช้จ่ายในส่วนระบบบำบัดน้ำเสียรวมภายในโครงการ หากระบบบำบัดน้ำเสียภายในอาคารสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             
3)  ปัญหาในการดำเนินการดูแลรักษาระบบบำบัดน้ำเสียรวมในระยะยาวผู้ออกแบบคาดการณ์ถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง หากเป็นไปได้แล้วนั้น ควรใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศในการบำบัดน้ำเสียในอาคารทุกประเภท และเน้นให้มีจุดเด่นคือ ผู้อยู่อาศัยสามารถดูแลรักษาระบบบำบัดน้ำเสียภายในครัวเรือนเองได้ เช่นการทำความสะอาดตัวกลาง, การนำปั๊มอากาศมาซ่อมแซมได้
               ระบบบำบัดน้ำเสียแบบใช้อากาศ (
Aerobic Treatment) กล่าวถึงการนำจุลชีพมาบำบัดน้ำเสียในครัวเรือน โดยเลือกชนิดของจุลชีพที่ใช้ออกซิเจนมาช่วยในกระบวนการทำงาน ซึ่งระบบดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบบำบัดน้ำเสียแบบไม่ใช้อากาศ (Anaerobic Treatment) กล่าวคือ BOD (Biological Oxygen Demand) ที่ออกจากระบบบำบัดฯ แบบใช้อากาศจะมีค่าต่ำกว่า 20 mg/L ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานทำให้ไม่ต้องใช้ระบบบำบัดรวมอีกในการบำบัดน้ำเสียในโครงการ
              
4)  หากมีการรวบรวมน้ำทิ้งจากกลุ่มอาคารที่อยู่อาศัย ก่อนการปล่อยลงสู่ลำน้ำสาธารณะควรมีการนำน้ำทิ้งนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น นำมารดน้ำต้นไม้รอบๆ โครงการ หรือ บริเวณสวนสาธารณะ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
             
5)  การกำจัดขยะหรือของเสียในแต่ละครัวเรือน  ควรมีการรณรงค์ให้แต่ละบ้านมีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง เช่น จัดระบบการเก็บรวบรวมในโครงการให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว เพื่อเพิ่มความสะดวกในการรวบรวมและทำลายขยะหรือของเสียเหล่านั้น และควรมีจุดจัดเก็บอย่างพอเพียง

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แบบบ้านประหยัดพลังงาน : เราจะเลือกใช้ฐานรากอย่างไรดี ??? จะเอาฐานแผ่ หรือ ตอกเสาเข็ม

ปัญหาของผมในการออกแบบ อันหนึ่งก็คือ จะออกแบบฐานรากอะไรให้ลูกค้าดี จะเอาเป็นฐานรากแบบฐานแผ่ หรือว่าจะเอาแบบตอกเข็มดี อันไหนจะดีกว่ากัน

อย่างแรกเลยที่ต้องคำนึง คือ ความปลอดภัยในการรับน้ำหนักของบ้าน อันดับต่อมาคือความประหยัดในงบประมาณ

สมมุติว่าเรา จะก่อสร้างอาคารสักอาคารนึง และเราจะเลือกฐานรากแบบไหนดี ความลึกของฐานราก หรือความลึกของเสาเข็มจะลึกเท่าไร
ส่วนตัวผมจะทำอย่างนี้ครับ
ถ้า ไม่ใช่กรุงเทพ อันดับแรกผมจะถามข้อมูลดินจากที่ข้างเคียงก่อน หรือบริษัทเสาเข็มเจ้าถิ่นครับ ว่าบริเวณนั้นเขาทำฐานรากยังไง ความลึกเท่าไรเป็นข้อมูลในใจ
แล้วคำนวนออกแบบโครงสร้างตามปรกติ ผมจะทราบน้ำหนักของอาคารที่ลงในฐานรากแต่ละฐานครับว่ามีน้ำนักกดลงไปเท่าไร
ที นี้ก็มาดูข้อมูลดิน ว่าเป็นยังไง ถ้ารู้ข้อมูลดินมาว่าแถวนั้น ตอกเข็มไม่ลง และ้ต้องเป็นฐานแผ่แน่ๆ ผมก็จะระบุไว้ในแบบ เพื่อความปลอดภัยว่า
“ผู้รับเหมาจะต้องทำการสำรวจชั้นดิน หรือทำการทดสอบการรับน้ำหนักของดินก่อนทำการก่อสร้าง”
ขั้นตอนต่อมาคือการตรวจสอบข้อมูลดิน ที่สถานที่จริง?? สำหรับการ ตรวจสอบส่วนใหญ่ จะมี 2 วิธีคือ การทำ Borring Log และการทำ plate barring Test (รายละเอียดค่อยว่ากันนะ คร่าวๆคืออันแรกเป็นการตวจสอบชั้นดิน อีกอันเป็นการเทสการรับน้ำหนักของชั้นดินครับ)

พอได้ข้อมูลดินที่แท้จริงจากบริษัทที่ทำการสำรวจแล้ว? ขั้นตอนต่อมาก็มาตัดสินใจว่า จะเลือกใช้ฐานรากแบบไหนอย่างไร ? วิธีการตัดสินใจคือ ถ้าดินในระยะตื้นๆที่สามารถทำฐานรากแผ่ได้นั้น สามารถรับน้ำหนักของอาคารได้เพียงพอ ก็จะทำการออกแบบฐานรากแผ่ตามความลึกตามที่ว่า? แต่ถ้าข้อมูลดินระบุว่าที่ระดับความลึกที่สามารถทำฐานรากแผ่นั้นไม่สามารถ รับน้ำหนักอาคารของเราได้ ก็จำเป็นต้องพิจารณาเป็นฐานรากแบบเสาเข็มครับ

วิธีการออกแบบฐานรากแผ่ ว่าควรจะใหญ่ขนาดไหน ถ้าไม่มีข้อมูลดินจริงๆ ก็สามารถทำได้โดยการสมมุติ การรับน้ำหนักของดิน เรียกว่าเดาอย่างมีหลักการครับว่า
1. ภาคกลาง, ภาคเหนือ, อีสาน ใช้ 8 ตันต่อตารางเมตร
2. ภาคตะวันออก ชลบุรี, ระยอง ภาคใต้ ใช้ 10 ตันต่อตารางเมตร
3. โซนใกล้ ภูเขา มองเห็นภูเขา ใกล้ทะเล ใช้ 12 ตันต่อตารางเมตร
4. กรุงเทพ หรือดินอ่อน ที่อยากจะใช้ฐานแผ่ ใช้ 2 ตันต่อตารางเมตร


คร่าวๆ การออกแบบนะครับ ว่าขนาดฐานรากจะเป็นเท่าไรคือ น้ำหนักของอาคารที่ลงเสาเข็ม ลบ กับ การรับน้ำหนักของดินคูณกับพื้นที่ของฐานรากที่สัมผัสดิน
ตัวอย่างเช่น ภาคกลาง ใช้ ฐานราก 1×2 เมตร(ยังไม่พูดถึงความหนานะ) จะรับน้ำหนักอาคารได้ 16 ตันครับ (8×1x2=16)ทีนี้ พอถึงเวลาการก่อสร้างจริง หน้าที่ของผู้รับเหมาก็จะต้องไปตรวจสอบสอบพื้นที่ จริงครับว่าชั้นดินแข็งที่ว่า รับน้ำหนักได้ 8 ตัน 10 ตันอยู่ครงไหน ลึกไปจากผิวดินอยู่เท่าไร
ส่วนมากอย่างน้อยๆ ควรจะลึกลงไปไม่ต่ำกว่า 1.00 เมตร โดยไม่รวมดินถมนะครับ ถ้ามีดินถมก็ต้องจากระดับดินถมลงไป เพราะดินถมรับน้ำหนักไม่ได้พอ
วิธีสังเกตุ ตอนคนงานขุด หรือแมคโคจ้วงลงไป คือลักษณะดินจะเป็นชั้นๆ มีสีต่างๆกัน และมีลักษณะดิน ไม่เหมือนกัน ตอนขุดลงไป คอยสังเกตุครับดินที่รับงน้ำหนักได้ดีควร จะเป็นดินแข็ง, ลูกรัง, ทราย หรือดินปนทราย, ถ้าเป็นดินเหนียว หรือดินปลูกต้นไม้ยังใช้ไม่ได้ ใหุ้ขุดลงไปอีก แต่ชั้นดินที่แข็งมันก็ยังเป็นชั้นๆอีกครับ ถ้าทะลุชั้นดินแข็งลงไปอาจจะกลายเป็นดินอ่อนอีกรอบก็ได้ไม่แน่
เพื่อนๆ อาจเคยเห็น อาคารบางอาคาร ที่อยู่ในบริเวณที่ไม่น่าจะต้องตอกเข็ม เช่นชายทะเล เชิงเขา แต่ ก็ยังตอกเข็มอีก เป็นเพราอะไร
ตอบคือ น้ำหนักของอาคารที่ลงในแต่ละเสาเข็มมันมากเกินกว่าที่จะทำฐานแผ่นั่นเองครับ ดินมันรับไม่ไหว ถ้าจะทำฐานแผ่ ฐานอาจต้องใหญ่มากๆ
วิศวกรเลยจำเป็นต้องออกแบบให้ตอกเข็ม ทั้งๆที่ตอกยาก
และฝาก นิดนึงครับ สำหรับ ท่านผู้ออกแบบทั้งหลาย ว่าการ ออกแบบอาคารที่มี span ยาวๆ หรือการออกแบบเสา คานที่ไม่ตรง grid line เยื้องไปเยื้องมาที่ท่านชอบนั้น จะทำให้อาคารนั้นมีน้ำหนักลงไปฐานรากมากกว่าปรกติ และก็เปลืองกว่าด้วยครับ
บางทีดินอาจรับไม่ไหวก็ได้ ถ้าสามารถเลือกได้ควรออกแบบให้เป็น กริดๆ ตารางๆ และก็ span เสาไม่ยาวเกินไปครับ เรื่องนี้ผมเถียงกับสถาปนิกที่เป็นเพื่อนกันมานานมาก แบบว่าจะเอาถูกๆ แต่เล่นออกแบบ ยึกยักๆ กริดไลน์เยอะมาก span ก็ห่างๆ พอเห็นขนาด กับจำนวนเสาเข็มก็แทบเป็นลมเรื่องราคาค่าก่อสร้าง? แต่ก็อย่างว่าทำไงได้? การออกแบบอาคารให้ถื่อเกินไปบางที ก็รับไม่ได้เหมือนกันครับ


วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

การออกแบบห้องนอนตามพื้นที่ใช้สอย Spacing

แบบบ้านประหยัดพลังงาน : หลักการออกแบบห้องนอนตามพื้นที่ใช้สอย

วันนี้ผมจะพูดถึงการออกแบบห้องนอนเพื่อความสะดวกสบายโดยอ้างอิงกับ Space การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ (Furniture) โดยเราจะมีขนาดที่จะใช้ในการออกแบบโดยทั่วไปตามนี้
  1. เตียงนอนคู่ ขนาดใหญ่ (King Size) ขนาดประมาณ 1.8-2.0x2.0 เมตร ขนาดกลาง(QUEEN SIZE)ขนาดประมาณ 1.5-1.8x2.0 เมตร
  2. เตียงนอนเดี่ยว ขนาดประมาณ 0.9-1.1x2.0 เมตร
  3. เตียงสองชั้น สำหรับห้องนอนเด็กที่โตพอสมควรเว้นระยะความสูงของระดับ ที่นอนชั้นล่างถึงชั้นบนประมาณ 1.2 เมตร
  4. โต๊ะข้างเตียง ขนาด 0.3-0.4x0.45 เมตร
  5. ตู้เสื้อผ้า ขนาดยาว1.2-1.5 เมตรต่อการเก็บเสื้อผ้าของคนหนึ่งคน
  6. โต๊ะเครื่องแป้งชาย/หญิง ขนาดลึก 0.6/1.0 เมตรสูง1.0/0.75 เมตร ยาว ประมาณ0.45-0.6 เมตร

ป้ายกำกับ

000 000 ลิตร 1.5 ล้าน 20000 ลิตร 2012 2013 250000-300000 3/4" 400 4 แสน 5 แสน 9000 ลิตร กระทรวงพลังงาน ก่อสร้าง การเขียนแบบบ้าน ขัดมัน เข็มสั้น เข็มไอ เขียนแบบ ค่าออกแบบ โครงสร้าง งานปรับปรุง ฐานราก ต่อเติม ถังเก็บน้ำ ถังน้ำมัน 20 เทนนิค น้ำหนัก น้ำหนักถังเก็บน้ำมัน บรรทุก แบบบ้านชั้นเดียวพร้อมแปลน แบบบ้านพร้อมแปลน ประมาณราคา ปรับปรุง ปูนเปลือย แปลนบ้านชั้นเดียว 1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ แปลนบ้านชั้นเดียว 2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ แปลนบ้านชั้นเดียวยกสูง แปลนบ้านชั้นเดียวราคาถูก แปลนบ้านไม่เกินล้าน ผลงาน ผลงานก่อสร้าง แผ่นพื้น พื้นที่ใช้สอย เฟอร์นิเจอร์ โฟร์แมน โมเดิน โมเดิร์น รับเหมา ราคา ลอฟ วัสดุ วิศวกรโยธา เสาเข็ม ห้องนอน หางาน หิน หินย่อย ออกแบบ ออกแบบฐานราก ออกแบบแท่นน้ำมัน ออกแบบอพาร์ทเมนท์ aisan building construction contractor engineer forman helmet isolated Loft man small house spacing supervisor