วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การวางถังน้ำ บน หรือ ล่าง ดี ???

การวางถังน้ำด้านล่างของอาคาร (วางบนพื้น)


ถ้ามีพื้นที่มากควรติดตั้งที่ชั้นส่างแล้วใช้ Auto Pump ควมคุม มีผลดีดังนี้
1.ไม่เพิ่มน้ำหนักให้อาคาร
2.ใช้แท้งค์ 1 ใบไม่ต้องเดินท่อส่งน้ำประหยัดค่าใช้จ่าย
3.ดัดแปลงต่อเข้ากับระบบเดิมได้ง่าย


การวางถังน้ำด้านบนของอาคาร (ดาดฟ้า)

 กรณีติดตั้งบนอาคาร
1.เพิ่มน้ำหนักให้อาคาร
2.ต้องใช้แท้งค์น้ำ2ใบติดตั้งบนอาคาร1ใบและติดตั้งเป็นถังพักน้ำชั้นส่า งก่อนpumpขึ้นชั้นบน1ใบ 3.ชั้น3และชั้น4 น้ำจะไหลไม่แรงต้องติด บูตเตอร์ ปั๊มช่วย
4.ไม่เป็นการประหยัด
5.ดัดแปลงต่อเข้ากับระบบเดิมได้ยากกว่า

แบบผสม วางบนดิน + วางบนดาดฟ้า

ถังบนดิน 1000 ลิตร + ถังดาดฟ้า 700 ลิตร

ถังพักน้ำด้านบนวัตถุประสงค์หลักเพื่อ เพิ่มแรงดันในการส่งน้ำไม่ได้มีไว้เพื่อสำรองน้ำเหมือนถังพักน้ำด้านล่าง ควรให้กักเก็บน้ำเพื่อจ่ายได้ประมาณ 2-3 ชั่วโมงของการใช้น้ำรวมเท่านั้น

แผ่นพื้นสำเร็จรูป

ตารางแสดงความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัย
(SAFE SUPERIMPOSED SERVICE LOAD TABLE)
ลวดอัดแรง (PC. WIRE) น้ำหนักบรรทุกปลอดภัย (กก. / ตร.ม.)
ช่วงความยาว (ม.) 2.00 2.25 2.50 2.75 3.00 3.25 3.50 3.75 4.00 4.25 4.50 4.75 5.00
จำนวน - ขนาด    แผ่นพื้นสำเร็จรูป หนา 5 ซม. ทับหน้า 4 ซม. ความหนารวม 9 ซม.
4 - Ø 4 มม. 950 660 520 420 340 275 220  
5 - Ø 4 มม. 1260 875 620 500 410 553 270 230  
6 - Ø 4 มม. 1550 1110 800 595 480 400 325 275 230  
7 - Ø 4 มม. 1550 1360 1000 725 560 460 380 325 270 225  
8 - Ø 4 มม. 1550 1360 1200 895 650 525 435 370 310 265 225  
  แผ่นพื้นสำเร็จรูป หนา 5 ซม. ทับหน้า 5 ซม. ความหนารวม 10 ซม.
4 - Ø 4 มม. 1060 800 670 520 430 360 315 260  
5 - Ø 4 มม. 1440 970 770 620 515 430 360 310 260 225  
6 - Ø 4 มม. 1550 1200 880 720 595 500 425 360 305 265 230  
7 - Ø 4 มม. 1550 1360 1130 820 675 575 485 415 355 305 265 230  
8 - Ø 4 มม. 1550 1360 1200 1000 765 645 540 470 400 350 305 260 230
  แผ่นพื้นสำเร็จรูป หนา 5 ซม. ทับหน้า 6 ซม. ความหนารวม 11 ซม.
4 - Ø 4 มม. 1260 990 795 650 550 460 405 340 275  
5 - Ø 4 มม. 1530 1160 940 760 655 545 475 405 340 275  
6 - Ø 4 มม. 1550 1350 1060 870 740 620 540 460 405 355 300  
7 - Ø 4 มม. 1550 1360 1200 980 835 700 605 525 460 400 360 315  
8 - Ø 4 มม. 1550 1360 1200 1050 920 780 680 580 510 445 400 355 315
         
           การเสริมเหล็ก Temperature steel

              - พื้นรับน้ำหนักจรไม่เกิน 300 กก. / ตร.ม. : เสริมเหล็ก               Ø 6 มม. @ 0.25 ม.#
                                                                          หรือ Wire Mesh    Ø 4 มม. @ 0.25 ม.#

              - พื้นรับน้ำหนักจรเกิน 300 กก. / ตร.ม. : เสริมเหล็ก                   Ø 6 มม. @ 0.25 ม.#
                                                                          หรือ Wire Mesh    Ø 4 มม. @ 0.25 ม.#

              กำลังอัดของคอนกรีตทับหน้า ( Compresive Strength Concrete Topping ) ไม่น้อยกว่า 180 กก. / ตร.ซม.
พื้นสำเร็จรูป (PLANK SLAB)

ที่มา


http://www.b2bthai.com/COMP-poundconcrete/ProductInfo.aspx?pid=f49e1d29-3d10-4a9a-980e-831b61729abc 

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Jr. Design แบบบ้านประหยัดพลังงาน : ค่าออกแบบ

การประมาณราคาค่าออกแบบ

มาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กำหนดมาตรฐานการคิดค่าออกแบบไว้ดังต่อไปนี้(เป็นร้อยละ)
ประเภทอาคาร มูลค่าการก่อสร้าง
ไม่เกิน 10 ล้าน 10 ล้าน-30 ล้าน 30 ล้าน-50 ล้าน 50 ล้าน-100 ล้าน 100 ล้าน-200 ล้าน 200 ล้าน- 500 ล้าน

1.ตกแต่งภายใน ครุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ 10.00 7.75 6.50 6.00 5.25 4.50
2.พิพิธภัณฑ์ วัด อนุสาวรีย์ อาคารอนุสรณ์ที่วิจิตร 8.50 6.75 5.75 5.50 4.75 4.25
3.บ้าน(ไม่รวมตกแต่งภายใน) 7.50 6.00 5.25 5.00 4.50 4.00
4.โรงพยาบาล โรงแรม ธนาคาร คอนโดมิเนียม วิทยาลัย 6.50 5.50 4.75 4.50 4.25 3.75
5.สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า หอพัก โรงเรียน โรงงานอุตสาหกรรม 5.50 4.75 4.50 4.25 4.00 3.50
6.โกดัง อาคารจอดรถ ห้องแถว ตลาด 4.50 4.25 4.00 3.75 3.50 3.25

การคำนวณค่าออกแบบจะประเมินจากค่าก่อสร้าง เช่นท่านต้องการสร้างบ้านประมาณ 15 ล้านบาทจะคิดดังนี้

10 ล้านแรก คิด 7.5 %      = 750,000 บาท
5 ล้านต่อมา คิด 6.00 %   = 300,000 บาท

รวมเป็นค่าออกแบบทั้งสิ้น 1,050,000 บาท


ค่าออกแบบเขาแบ่งกันอย่างไร (ระหว่างสถาปนิกและวิศวกร) สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กำหนดมาตรฐานการคิดค่าออกแบบไว้ดังต่อไปนี้(เป็นร้อยละ)

1. เมื่อรับเงินมาสามารถหักค่าใช้จ่ายบางประเภทออกก่อนคือค่าประสานงาน ( หักไม่เกิน 10 % )ค่าใช้จ่ายพิเศษอื่น ๆ ( ไม่เกิน 15 % )
2. เหลือเงินจากข้างต้นเมื่อไรจะแบ่งกัน โดยแยกประเภทของโครงการเป็น 4 ประเภทคือ
ประเภทที่ 1 : บ้าน
ประเภทที่ 2 : อาคารชุด สำนักงานสรรพสินค้า หอพัก โรงเรียน
ประเภทที่ 3 : โรงแรม โรงพยาบาล โรงภาพยนต์ สนามกีฬาในร่ม
ประเภทที่ 4 : โรงงาน โกดัง อาคารจอดรถ ห้องแถว ตลาด
โดยจะแบ่งออกเป็นสัดส่วนร้อยละดังต่อไปนี้
ประเภทของงาน/คน 1 2 3 4
1.สถาปนิก 65% 60% 55% 50%
2.วิศวกรโครงสร้าง 20% 20% 22% 26%
3.วิศวกรสุขาภิบาล 5% 5% 6% 6%
4.วิศวกรไฟฟ้า 10% 10% 11% 11%
5.วิศวกรเครื่องกล - 5% 6% 6%
รายละเอียดเพิ่ม สอบถามได้ที่สมาคมสถาปนิกสยามฯ หรือวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ...ทันที

ป้ายกำกับ

000 000 ลิตร 1.5 ล้าน 20000 ลิตร 2012 2013 250000-300000 3/4" 400 4 แสน 5 แสน 9000 ลิตร กระทรวงพลังงาน ก่อสร้าง การเขียนแบบบ้าน ขัดมัน เข็มสั้น เข็มไอ เขียนแบบ ค่าออกแบบ โครงสร้าง งานปรับปรุง ฐานราก ต่อเติม ถังเก็บน้ำ ถังน้ำมัน 20 เทนนิค น้ำหนัก น้ำหนักถังเก็บน้ำมัน บรรทุก แบบบ้านชั้นเดียวพร้อมแปลน แบบบ้านพร้อมแปลน ประมาณราคา ปรับปรุง ปูนเปลือย แปลนบ้านชั้นเดียว 1 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ แปลนบ้านชั้นเดียว 2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ แปลนบ้านชั้นเดียวยกสูง แปลนบ้านชั้นเดียวราคาถูก แปลนบ้านไม่เกินล้าน ผลงาน ผลงานก่อสร้าง แผ่นพื้น พื้นที่ใช้สอย เฟอร์นิเจอร์ โฟร์แมน โมเดิน โมเดิร์น รับเหมา ราคา ลอฟ วัสดุ วิศวกรโยธา เสาเข็ม ห้องนอน หางาน หิน หินย่อย ออกแบบ ออกแบบฐานราก ออกแบบแท่นน้ำมัน ออกแบบอพาร์ทเมนท์ aisan building construction contractor engineer forman helmet isolated Loft man small house spacing supervisor